วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชาทั้ง 45 วิชา


คำอธิบายรายวิชา (เฉพาะที่คาดว่าจะเรียนจริง)



1)    การวิเคราะห์ชุมชนและทุนทางสังคม 

-       ASI ๑๐๑๐๓     ปัญหาชุมชนไทยกับการพัฒนา (Thai Social Problem and Development)

-       สภาพของชุมชนไทยในอดีตการเปลี่ยนแปลงของชุมชนไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ แนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน



-       SEP ๑๐๖๐๒ วัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม(Community Culture and Social Capital)

-       ขอบเขต ความหมาย ความสำคัญของวัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม โครงสร้างวัฒนธรรมชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะของทุนทางสังคม การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น



-       SEP ๑๐๖๐๕  กองทุนและสวัสดิการชุมชน        (Community Fund and Welfare)

-       ศึกษาความหมายของทุนชุมชน แนวคิด แนวปฏิบัติและรูปแบบของการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุนชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการโดยอาศัยทุนของชุมชน ซึ่งรวมถึงการจัดการทุนทรัพยากรทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของชุมชน ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงระบบการออม การผลิตและการบริโภค  



-       SEP ๒๐๖๐๖  เครือข่ายชุมชนและการจัดการ(Community Network and Management)

-       ศึกษาแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชน ความหมายและความสำคัญในการพัฒนาชุมชน รูปแบบต่าง ๆ ของการบริหารเครือข่ายชุมชน ศึกษากรณีตัวอย่างต่าง ๆ ของเครือข่ายองค์กรชุมชน รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมในความหมายที่กว้างออกไป       



-       SEP ๑๐๕๐๒ การจัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อการพัฒนา      (Community Mapping for Development)

-       ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและบริบทโดยรอบ
การใช้ข้อมูลทางแผนที่และข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (
Geography Information System) หลักการของการทำแผนที่ชุมชน แนวคิดและวิธีการการวิเคราะห์แผนที่เพื่อการพัฒนา การนำเสนอแผนที่ชุมชน



2)    การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน

-       SEP ๔๐๗๐๕       กระบวนทัศน์การพัฒนา (Development Paradigm)

-       ศึกษาความหมายของคำว่ากระบวนทัศน์ อันเป็นพื้นฐานการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ  ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงปัจจุบัน ทั้งในระดับโลกจนถึงระดับประเทศ โดยเฉพาะตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนที่ ๑  เป็นต้นมา ผลกระทบของการพัฒนาต่อวิถีของชุมชน และศึกษาทางเลือกกระบวนการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน



-       SEP ๒๐๖๐๗ การจัดทำแผนแม่บทชุมชน(Management on Community Strategic Planning)

-       การจัดทำและรวบรวมข้อมูลบัญชีครัวเรือน และบัญชีชุมชน การจัดทำแผนพัฒนาของประเทศไทย ผลกระทบของการพัฒนาปัญหาของชุมชน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน แนวความคิด การจัดแผนชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน ปัญหาของการจัดทำแผนชุมชน เทคนิควิทยากรกระบวนการในการจัดทำแผนชุมชน



-       SEP ๔๐๗๐๗ นโยบายสาธารณะ (Public Policy)

-       แนวความคิด และวิธีการในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบายสาธารณะ ศึกษาถึงทฤษฎี เทคนิคการวางแผน กระบวนการวางแผน การบริหารโครงการ การประเมินผลแผนและโครงการ โดยเน้นถึงนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล และการวางแผนเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย



-       SEP ๓๐๖๑๒ วิสาหกิจชุมชน     (Community Enterprise)

-       ศึกษาความหมายของวิสาหกิจชุมชน แนวคิดและรูปแบบการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน
พร้อมทั้งตัวอย่างคลัสเตอร์ (Clusters) วิสาหกิจชุมชน และการจัดการแบบผนึกพลัง (Synergy) เพื่อให้เห็นความเกี่ยวโยงไปถึงระบบเศรษฐกิจชุมชน กระบวนการเรียนรู้หรือการทำข้อมูลและแผนแม่บท ก่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งการสร้างนักวิสาหกิจชุมชน



-       SEP ๒๐๖๐๘ การจัดทำโครงการและการบริหารโครงการ(Project Initiative and Project Management)

-       ความหมายของโครงการ การสร้างสรรค์โครงการรูปแบบต่าง ๆ การเขียนโครงการ วิธีการจัดการโครงการ  การบริหารโครงการ การประเมินผลโครงการ รวมถึงแหล่งทุนในการสนับสนุนโครงการและแนวคิดในการสนับสนุนของแหล่งทุนประเภทต่าง ๆ



-       SEP ๓๐๗๐๑ ภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงาม     (Community Leadership and Team Building)               

-       การศึกษาภาวะผู้นำประเภทต่าง ๆ และเทคนิคการพัฒนาทีมงาน ความหมายและความสำคัญของการบริหารทีม แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาองค์การ  แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม วิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีม การวางแผนและการออกแบบทางเลือกในการพัฒนาทีมงานการสร้างทีมใหม่การกำจัดความไม่เป็นระเบียบและความขัดแย้งในทีมข้อตกลงและการเอาชนะข้อตกลงที่ไม่เป็นระเบียบและความขัดแย้งในทีมข้อตกลงและการเอาชนะข้อตกลงไม่สมบูรณ์ การสร้างความภาคภูมิใจในทีมงาน การฟื้นฟู ทีมงาน การลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ปัญหาในการสร้างทีมงานและแนวทางแก้ไข และลงมือปฏิบัติการเข้าถึงภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงานของผู้เรียนผ่านการทำงานในชีวิตประจำวันของผู้เรียน และสรุปประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน



3)    การพัฒนาตนเอง

-       ASI ๑๐๒๐๑ มงคลชีวิต (Contemplative Practices)          

-       การฝึกปฏิบัติการ เพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาชีวิตจากภายในจิตใจ ด้วยการฝึกฝนบ่มเพาะญาณทัศนะ โดยอาศัยกัลยาณมิตร และชุมชนที่สมานฉันท์ ผ่านกระบวนการแห่งการภาวนา ๔ คือศีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา อย่าสม่ำเสมอต่อเนื่อง

               

-       SEP ๔๐๗๐๒  จิตตปัญญาสิกขา (Comtemplative Education)

-       การศึกษาด้านในของตนเองเพื่อให้เกิดการรู้ตัว เข้าถึงความจริง ส่งผลต่อการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา เป็นต้น



-       ASI ๑๐๒๐๒ วิถีสุขภาวะแบบองค์รวม    (Holistic Well-Being Approach)       

-       การฝึกปฏิบัติการในวิถีชีวิตประจำวัน ด้วยความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพโดยการเอาใจใส่ดูแล  อิริยาบถพฤติกรรม มีสติในการกินอยู่ ที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัย มีความรู้ถึงสาเหตุและลักษณะอาการของความเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง หรือแบบปัจจุบันทันด่วน รวมทั้งอุบัติภัยต่าง ๆ และรู้วิธีที่จะป้องกัน แก้ไข หรือลดความเสี่ยง พร้อมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้เป็นผู้ซึ่งดูแลตนเองในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดี

   

-       ASI ๑๐๑๐๒ พุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง  (Buddhist Economics and Sufficiency Economy)

-       ความสำคัญของพุทธเศรษฐศาสตร์  เปรียบเทียบพุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก  ความเข้าใจมนุษย์แบบพุทธ  การบริโภค  การผลิต  การกระจายผลผลิตภายใต้บริบทพุทธเศรษฐศาสตร์  บทบาทภาครัฐ กลไกการตลาด กลไกรัฐ และกลไกชุมชนและประชาสังคม  และ เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน



-       ASI ๑๐๒๐๓ ความรู้พื้นฐานทางปรัชญา (Fundamental Knowledge of Philosophy)

-       แนวความคิดพื้นฐานในปรัชญาแขนงเมตาฟิสิกส์ ทฤษฎีแห่งความรู้ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ทัศนคติของนักปรัชญาเอกของโลก โดยพิจารณาหลักการอธิบายความคิด เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพของมนุษย์ ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องเผชิญในการแสวงหาความจริง และหลักเกณฑ์เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเหตุผล

4)    ระบบสังคมและโลกาภิวัตน์

-       ASI ๑๐๓๐๑ ธรรมชาติศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษา (Nature-Study, Movement and Preservation)

-       ลักษณะวิชาจะบ่งบอกถึงสมดุลของโลกธรรมชาติ และสรรพสิ่งปัจจุบัน  การรู้จักรูปทรง โครงสร้างของธรรมชาติ การคงสภาพสืบเนื่อง การเปลี่ยนแปลง  บทบาทหน้าที่ของสรรพสิ่ง(ระบบนิเวศ) ที่เกื้อกูลสมดุลธรรมชาติ โดยศึกษาข้อมูลในอดีตเชิงสถิติและภาพรวม ผ่านการสัมผัสธรรมชาติจริง เรียนรู้โดยเน้นฝึกทักษะการสังเกต สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งใกล้และไกล ฝึกเปลี่ยนการมองตรงจากความจริงที่ช่วยสะท้อนถึงรูปแบบของความคิด การตรึกตรอง การไต่สวนเพื่อให้พูนเพิ่มความรู้ หรือกรอบปฏิบัติการที่ถูกต้องตรงทาง  ฝึกป้อนตัวรู้  การตั้งคำถาม และการหาคำตอบที่คมชัดในทุกแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากธรรมชาติ  ฝึกการเก็บข้อมูลโดยการวาดรูป บันทึกภาพ  ประมวลความรู้ และความรู้สึกที่เข้าถึงธรรมชาติ เพื่อการเข้าถึงกฎระเบียบ ระบบต่าง ๆ ที่มีในธรรมชาติ ที่ทรงอิทธิพลต่อมนุษย์ เกิดการอนุรักษ์และการเข้าถึงวิถีแห่งการธำรงรักษาที่ดีที่สุดคือ การรู้จริงโดยตนเอง



-       SEP ๑๐๕๐๑ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และวิกฤติโลก (Environmental Resources and Global Crisis)

-       พื้นฐานความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากเทคโนโลยี มลพิษต่าง ๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรมตลอดจนวิกฤติโลกด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์อันเป็นความเสี่ยงในปัจจุบัน มาตรการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม การรักษาและการดูแลคืนสภาพให้กับสิ่งแวดล้อม



-       SEP ๑๐๖๐๑ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองไทย   (Thai Society Economy and Politic)

-       ลักษณะทั่วไปของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของไทย ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ภายในโครงสร้างเหล่านั้นและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัญหาและการแก้ไขปัญหา รวมถึงโครงสร้างการบริหารของ รัฐบาลกลาง และองค์กรปกครองประเภทต่าง ๆ เช่นเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และส่วนตำบล เป็นต้น ตลอดจนองค์กรภาคประชาชน/ประชาสังคม



-       SEP ๑๐๖๐๔ เศรษฐกิจชุมชน  (Communtiy Economy)

-       ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคเชิงวิพากษ์ ในเรื่องปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ความล้มเหลวของกลไกตลาด การเข้าแทรกแซงจากกลไกรัฐผ่านนโยบายรัฐ ทั้งในระดับชุมชนและเชื่อมโยงสู่สังคมภายนอก ตลอดจนการทำงานของกลไกชุมชนและภาคประชาสังคมภายใต้แนวคิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอันเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ผ่านตลาด



-       SEP ๔๐๗๐๖ สังคมชนบทและสังคมเมือง (Rural and Urban Sociology)

-       ความหมายของสังคมชนบทและเมือง ความหมายของชุมชนแบบชนบทและเมือง ลักษณะของชนบทและเมืองด้านนิเวศวิทยา ประชากร การอาชีพ และเศรษฐกิจ สถาบันทางสังคม กลุ่ม องค์กรทางสังคม ลักษณะค่านิยม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมชนบทและเมือง ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของสังคมชนบทและเมือง การวางผังเมือง



5)    สถาบันและการปกครองท้องถิ่น

-       ASI ๑๐๑๐๔   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Introduction to General Law)

-       ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักกฎหมายเบื้องต้น ได้แก่ ที่มา ประเภท ความสำคัญ การจัดทำ การใช้ การยกเลิก การตีความและกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ศึกษากฎหมายแพ่งพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอาญา เฉพาะส่วนที่เป็นความรู้เบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ รวมทั้งจรรยาบรรณของผู้ใช้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ



-       SEP ๔๐๗๐๙ หลักการปกครองท้องถิ่น  (Principle of Local Government)

-       ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น หลักการ รูปแบบการปกครองท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหน่วยการปกครองท้องถิ่น ปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่มีผลกระทบต่อการปกครองท้องถิ่น ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นในอนาคต



-       SEP ๓๐๖๑๓  รัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง กฎหมาย และกติกาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน (Constitution, Political Institution, Community Rule and Law)  

-       ประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ องค์การของรัฐ และสถาบันการเมืองประเภทต่าง ๆ
สิทธิเสรีภาพของบุคคล ทฤษฎีที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งปรัชญาและแนวความคิดในระบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง กฎหมายท้องถิ่น และกติกาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน



-       SEP ๔๐๗๑๐ กระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Participation Development)

-       ศึกษาหลักการ วิธีการ กระบวนการพัฒนาบุคคล และกลุ่ม อุดมการณ์ คุณธรรมสำหรับนักพัฒนา วิธีการให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชน กระบวนการและเทคนิคของการรวมกลุ่มการพัฒนากลุ่ม การปฏิบัติงานเป็นกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชน



6)    การจัดกระบวนการเรียนรู้ 

-       SEP ๒๐๕๐๔ วิทยากรกระบวนการ  (Process Facilitator)

-       ทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้น  กระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่  การถ่ายทอดความคิดเป็นภาษาองค์ประกอบของวิทยากรกระบวนการ เทคนิคการจัดกระบวนการเพื่อการเรียนรู้  เทคนิคการตั้งคำถาม การฟัง การสรุป การจับประเด็น  การบันทึกการประชุมแบบแผนที่ความคิด การสร้างพลังให้กับเวทีประชุม



-       SEP ๓๐๖๐๙ การจัดกระบวนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง   (Learning Process Management for Change)

-       ศึกษาความหมาย ขั้นตอนของการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การสร้างรูปแบบกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมกับชุมชน การใช้เครื่องมือการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่



-       SEP ๒๐๕๐๓ การผลิตสื่อชุมชน (Community Media Creation)

-       ความเข้าใจพลังและอิทธิพลของสื่อ ที่มีต่อการกำหนดหรือชี้นำการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจ
ของคน ผ่านรูปธรรมการนำเสนอ เช่น ข่าว สารคดี โฆษณา ฯลฯ เพื่อให้รู้เท่าทันอำนาจและสิ่งที่แฝงเร้นอยู่ในสื่อ เรียนรู้และจัดทำรูปแบบสื่อประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมในชุมชน ทั้งที่เป็นสื่อเสียง สื่อเสียงและภาพสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และ
Social Media



-       SEP ๒๐๕๐๕ ข้อมูลทางสถิติและสารสนเทศชุมชน (Statistical Data and Information of Community)

-       ความหมายและความสำคัญของข้อมูลสถิติและสารสนเทศ การรวบรวมข้อมูลและเข้าถึงแหล่งสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ของชุมชน พร้อมด้วยการจัดระบบข้อมูล วิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูลสถิติและสารสนเทศชุมชน เพื่อการตัดสินใจ



-       SEP ๔๐๗๑๓ การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (Conflict Management with Peace Study)

-       ศึกษาความหมาย ขั้นตอนของการบริหารความขัดแย้ง วิเคราะห์กระบวนการบริหารความขัดแย้งแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กรณีตัวอย่างความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในชุมชนของนักศึกษา วิธีการจัดการกับความขัดแย้งเพื่อนำมาใช้ในการจัดการชุมชนที่เหมาะสม



7)    ความรู้และทักษะการสื่อสารทางสังคม  

-        ASI ๑๐๔๐๔ทักษะการฟัง การอ่านเอาเรื่อง การพูด และการเขียนภาษาไทย (Listening, Conceptually Reading, Speaking and Writing Skill in Thai Language)

-        หลักและฝึกทักษะการฟัง การอ่าน การคิด การเขียนและการพูด ด้านการฟังและการอ่านจะเป็นการจับใจความสำคัญและการแสดงความคิดเห็น สำหรับการอ่านจะเน้นการอ่านออกเสียงด้วยด้านการเขียนจะเน้นการใช้ภาษา การเขียนย่อหน้า สำนวนโวหาร ภาพพจน์ ตลอดจนการเก็บและบันทึกข้อมูล ด้านการพูดจะเน้นการสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การประชุม ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะดังกล่าวถ่ายทอดความรู้ ความคิดอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล



-        ASI ๑๐๓๐๓ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Introduction to Computer, Information and Technology)

-        หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดเตรียมเอกสารและการนำเสนองานต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ และการจัดทำฐานข้อมูลในระดับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ



-        ASI ๑๐๔๐๕   ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพ   (Communitatiion Skills for Leader in Professional Career)

-        ฝึกทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพต่างๆ  ด้วยการพูด การเขียน การอ่าน และการฟัง การอ่านเชิงวิจารณ์ การวิเคราะห์  ทักษะด้านการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูล และการพูดในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเน้นทักษะการเขียนเชิงนิเทศ การเขียนรายงานทางวิชาการ และการเขียนโครงการต่าง ๆ ในด้านการสื่อสารและการทำงาน



-        ASI ๑๐๔๐๑ การใช้ภาษาอังกฤษ ๑   (English Usage 1)      

-        ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง ๔ ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการอ่าน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง



     ASI ๑๐๔๐๒ การใช้ภาษาอังกฤษ ๒      (English Usage 2)

-        ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพิ่มเติม ในลักษณะเชื่อมโยง ประสานกันทั้ง ๔ ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์เป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการเขียน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องในด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันและในการศึกษาภาษาอังกฤษชั้นสูง





8)    ความรู้และทักษะการประกอบการทางสังคม

-       SEP ๓๐๖๑๐ แนวคิดผู้ประกอบการสังคม  (Social Enterpreneur Concept)

-       ศึกษาที่มา แนวคิดและความหมายของผู้ประกอบการสังคม ความแตกต่างจากผู้ประกอบการทั่วไป และ ศึกษากรณีตัวอย่างต่าง ๆ ของผู้ประกอบการสังคมในต่างประเทศและประเทศไทย



-       SEP ๓๐๖๑๑ การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสังคม (Entrepreneurial Skill Development)

-       คุณลักษณะและทักษะของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการ
การแสวงหาโอกาสใหม่ของธุรกิจ แผนธุรกิจ แผนการตลาด แนวคิดในการเลือกธุรกิจและรูปแบบของการลงทุน การจัดการธุรกิจที่เริ่มดำเนินการเพื่อกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืน



-       SEP ๓๐๖๑๔ สหกรณ์กับการพัฒนาชุมชน  (Cooperative and Community Development)

-       ศึกษาที่มา หลักการและ กระบวนการของสหกรณ์ที่มีผลต่อทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และสุขภาวะของชุมชน รูปแบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ในต่างประเทศ และประเทศไทย กฎหมายและข้อจำกัดของสหกรณ์ในไทย และกรณีศึกษาสหกรณ์ต่างประเทศและในประเทศที่ประสบความสำเร็จ

       

-       SEP ๔๐๗๑๗ สัมมนาประเด็นผู้ประกอบการสังคม (Seminar on Social Entrepreneur)

-       การศึกษาด้วยตนเองในประเด็นผู้ประกอบการสังคมที่ผู้เรียนสนใจและนำเสนอผลการเรียนรู้



-       SEP ๔๐๖๑๕ กรณีศึกษาการเป็นผู้ประกอบการสังคมในชุมชนท้องถิ่น (Case Study on Social Entrepreneur in Community)

-       ศึกษาด้วยตนเองผ่านการเป็นผู้ประกอบการสังคม ด้วยริเริ่ม จัดทำแผนงาน ลงมือพัฒนากิจการเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นในชุมชน และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้น จัดทำเป็นกรณีศึกษา



-       SEP ๑๐๖๐๓  นวัตกรรมการประกอบการสังคม (Community Development Innovation)

-       ศึกษาความหมายของคำว่านวตกรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบการสังคม ทั้งในเชิงทฤษฎีและตัวอย่างนวตกรรมที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จที่กิดขึ้นในชุมชนจากการทำงาน



-       SEP ๔๐๗๑๕ หลักบัญชีเบื้องต้น (Basic Accounting)

-       หลักการบัญชี กระบวนการบันทึกบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ การปรับปรุงรายการบัญชีการปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงินของกิจการขายสินค้า กิจการผลิต สินค้า และกิจการให้บริการ รวมถึงการจัดทำสมุดรายวันเฉพาะ บัญชีคุมยอด และบัญชีย่อย



9)    การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง (ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ)

-       SEP ๒๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๑ (Learning Through Work 1)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์  สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์



-       SEP ๓๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๒ (Learning Through Work 2)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์  สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์



-       SEP ๔๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๓ (Learning Through Work 3)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น