วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Logo มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น







มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น  โลโก้ Logo นี้ ออกแบบโดยฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันอาศรมศิลป์ รูปทรงดอกบัว คือปัญญา รูปทรงมะม่วง  คือสืบสานจากรพะมหาชนก ผุ้ประกอบการสังคม และสีครามสีแห่งภูมิปัญญาชุมชน

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“มหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์” บทพิสูจน์มหาวิทยาลัยของประชาชน


“มหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์” บทพิสูจน์มหาวิทยาลัยของประชาชน



          จำเป็นด้วยหรือที่การเรียน ต้องสอนหนังสือแค่เพียงห้องสี่เหลี่ยม มีโต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ และมีครูเป็นคนสอนอยู่หน้าชั้นเรียน นักเรียนต้องนั่งฟังและจดตามที่ครูบอกเท่านั้น เพราะโลกนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้อีกมากมายมหาศาล ที่เราจะเรียนรู้กันอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

          ในสังคมปัจจุบันสถาบันการศึกษาถึงแม้จะมีมากมายแต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน มาตรฐานของสถานศึกษาที่แตกต่าง ทำให้เกิดการแข่งขันการเข้าศึกษาต่อ ผู้เรียนแห่กันเข้าศึกษาต่อกับสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงเกิดการวิ่งเต้นใช้เส้นสาย สร้างความไม่เป็นธรรมให้ผู้ที่มีฐานะยากจนคนที่มีความรู้ ความได้เปรียบทางสังคมมักเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ด้อยหรืออ่อนแอกว่าเสมอมา ซ้ำร้ายคนที่เรียนจบแล้วก็ต้องพบกับ การตกงาน หรือถ้าได้งานทำงาน ก็ไม่ตรงกับสายงานที่เรียนมา

          ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ทุกคนจะมีทางเลือกใหม่ๆ เปลี่ยนความคิดเดิมๆ นั่นคือการปฏิรูปการศึกษา ที่นำไปสู่ความเท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เรียนทุกคน “มหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์” เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อสร้างภาพฝันทางการศึกษาที่สังคมอยากเห็น

          ดร.ศักดิ์  ประสานดี ผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์และเป็นผู้จุดประกายให้กับผู้ทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมในจังหวัดนนทบุรี ได้มองเห็นคุณค่าทางการศึกษา และการให้โอกาสกับตัวเองได้เข้าเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้ ไปผสมผสานกับองค์ความรู้เดิมของตนเอง ที่ทำงานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น การเรียน การสอน เป็นแบบพี่ช่วยน้อง เรียนฟรี สอนฟรี ถ้ามีค่าใช้จ่าย ผู้เรียนจะใช้วิธีลงขัน เป็นกองทุนในการเรียน เรียนสัปดาห์ละหนึ่งวัน มีสอนระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ปัจจุบันนี้เปิดสอนที่ อบต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 มีนักศึกษาปริญญาตรี 22 คน ปริญญาโท 35 คน และจะขยายโอกาสให้ผู้ที่ต้องการทำประโยชน์ต่อสังคมได้มีโอกาสได้เรียน ในช่วงแรกจะเปิดโอกาสให้คนที่เป็นอาสาสมัคร หรือจิตอาสา ได้มีโอกาสได้เรียนก่อน เท่านั้น จากการพูดคุยกับนักศึกษาที่ได้เรียนที่มหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์ หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นประโยชน์กับการทำงานอย่างมาก จากการที่ตนเอง ไม่กล้าพูด พูดไม่เป็น พูดไม่ได้ แต่เมื่อได้มาเรียนที่นี่ไม่ถึงเดือนเริ่มกล้าพูด เริ่มพูดได้ จนระยะหลัง ๆ ถ้าไม่ได้พูดเหมือนว่าวันนั้นขาดอะไรไปอย่าง และนอกจากนี้ยังสามารถคิดเป็นระบบขึ้น มีการทำงานอย่างรัดกุม สามารถวางแผนงานได้เป็นอย่างดี บางคนสามารถบริหารองค์กรของตนเองให้เข้มแข็งขึ้นมีสมาชิก มีเงินทุนเพิ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

          บทพิสูจน์ของการ จัดการเรียนการสอนของมหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์ กว่า 2 ปี ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการการศึกษา ที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นการศึกษาแบบเอื้ออาทร ที่เริ่มต้นจากทุนทางสังคม ซึ่งเราเชื่อว่าการศึกษาแบบนี้จะสามารถพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอน ซึ่งจะสามารถช่วยลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา และนำไปสู่การปฏิรูปทางการศึกษาอย่างแท้จริง ผู้ใดสนใจต้องการเปิดศูนย์ที่จังหวัดตนเอง ติดต่อได้ที่ มหาวิชชาลัยพลเมืองนนท์  ศูนย์ อบต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี
นครไชย  นนทไชย

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาที่ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้


แนวทางการศึกษาในหลักสูตรผู้ประกอบการสังคม

ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียน (สำหรับนักศึกษา)



โดย ดร.ศักดิ์ ประสานดี



ขั้นตอนที่ 1 ให้ผู้สมัครเป็นนักศึกษาทุกคนได้กำหนดเป้าหมายของการเรียนก่อน อาจจะตั้งแต่การส่งใบสมัครเข้ามาเรียนด้วยซ้ำ เหมือนนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก คือการเลือกผู้เข้าเรียนจากใบสมัคร การกำหนดเป้าหมายนี้ให้นักศึกษาตอบคำถามว่า

1)      หัวข้อที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการสังคม เหตุผลที่สนใจ

2)      กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ  

3)      กำหนดเป้าหมายของความสำเร็จ 

4)      ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาชุมชน และการประกอบการทางสังคม  เป็นการเริ่มต้นการศึกษาในปีที่ 1 (ภาคเรียนที่ 1, 2 และภาคฤดูร้อน)

เทอม 1   

1)      ประวัติศาสตร์ของชุมชน, และข้อมูลสำคัญของชุมชน ปัญหาชุมชนพื้นที่ปฏิบัติการกับการพัฒนาที่ผ่านมา
2)      เครือข่ายชุมชนและการจัดการ
3)      วัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม                            
4)      กองทุนและสวัสดิการชุมชน
5)      การจัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อการพัฒนา

เทอม 2

6)      เศรษฐกิจชุมชน 
7)      วิสาหกิจชุมชน
8)      สังคมชนบทและสังคมเมือง
9)      พุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง
10)  ข้อมูลทางสถิติและสารสนเทศชุมชน

เทอม 3
11)  แนวคิดผู้ประกอบการสังคม                                   
12)  การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสังคม
13)  สหกรณ์กับการพัฒนา                                
14)  กรณีศึกษาการเป็นผู้ประกอบการสังคมในชุมชน           
15)  นวัตกรรมการประกอบการสังคม

หมายเหตุ ก่อนจะเข้าสู่การเรียนสัปดาห์แรก จะให้นักศึกษาทุกคนเข้าค่าย “มงคลชีวิต” เสียก่อน (ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร) เพื่อปรับทัศนคติร่วมกัน และสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของนักศึกษา)

ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการสังคม  ขั้นที่ 3 นี้น่าจะอยู่ในปีการศึกษาที่ 2, 3 โดยอาจจะมีแนวทางดังนี้
3.1        การวางแผนการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสังคม น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  (ตัวอย่าง)
1)      ธรรมชาติศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษา        
2)      สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และวิกฤติโลก
3)      สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองไทย     
4)      วิถีสุขภาวะแบบองค์รวม  
5)      กระบวนทัศน์การพัฒนา  
6)      นโยบายสาธารณะ

หมายเหตุ ก่อนเข้าเรียนในปีการศึกษาที่ 2 นักศึกษาจะเข้าค่าย “จิตปัญญาสิกขา” ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งของหลักสูตร

3.2  การดำเนินการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการสังคม  น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2, และ ปีการศึกษาที่ 3 ดังนี้

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2, มีรายวิชาดังนี้  (ตัวอย่าง)
1)      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 1
2)      การจัดทำแผนแม่บทชุมชน
3)      การจัดทำโครงการและบริหารโครงการ    
4)      ภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงาน
5)      กระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนา
6)      วิทยากรกระบวนการ                                  


ปีการศึกษาที่ 3 การฝึกปฏิบัติการและการเรียนรู้เพิ่มเติมตามรายวิชาทั่วไปตามมาตรฐานของ สกอ.
     ภาคการศึกษาที่ 1  (ตัวอย่าง)
1.      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 2
2.      การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
3.      การผลิตสื่อชุมชน
4.      การจัดการความขัดแย้ง
5.      หลักบัญชีเบื้องต้น
6.      ทักษะการฟัง การอ่านเอาเรื่อง การพูดและการเขียนภาษาไทย

     ภาคการศึกษาที่ 2  (ตัวอย่าง)
1.      ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ 3
2.      ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย           
3.      หลักการปกครองท้องถิ่น
4.      รัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน
5.      คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน 

ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและการถอดความรู้การเป็นผู้ประกอบการสังคม ขั้นตอนนี้น่าจะอยู่ที่ปีการศึกษาที่ 4  โดยภาคการศึกษาที่ 1 จะเป็นการสรุปและการถอดความรู้ ภาคการศึกษาที่ 2 เป็นการเรียบเรียงและจัดทำเป็นเอกสารและการนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตรและสาธารณะ รวมถึงการศึกษาตามรายวิชาอื่นๆ ที่เป็นการศึกษาทั่วไปตามมาตรฐานของ สกอ.

รายวิชาที่ต้องศึกษาในปีการศึกษาที่ 4   (ตัวอย่าง)
1.      ความรู้พื้นฐานทางปรัชญา
2.      ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพ               
3.      การใช้ภาษาอังกฤษ 1                                  
4.      การใช้ภาษาอังกฤษ 2
5.      สัมมนาประเด็นผู้ประกอบการสังคม

        ผมคิดว่าการจัดการเรียนใหม่ ที่จะเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง มุ่งให้เกิดผลลัพธ์อย่างจริงจัง และเป็นการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ น่าจะเป็นแนวทางที่เราสามารถจะสร้างผู้ประกอบการสังคมได้จริง หากจะมีคนถามว่าการเรียนรู้นี้ ต่างจากนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอกตรงไหน เราคงบอกได้ว่า ต่างกันตรงที่ การศึกษาในระดับปริญญาตรีนี้ ไม่มีการตั้งสมมติฐาน ไม่มีการทดสอบสมมติฐานเหมือนการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

หากจะสรุปให้สั้น ๆ เป็นแผนภาพ การศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี ผู้ประกอบการสังคม น่าจะเขียนได้ดังนี้


 






ใบสมัครเข้าเรียนในมหาวิชชาลัย



มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น

ใบสมัครเข้าเรียนหลักสูตร การวิเคราะห์ชุมชนและทุนทางสังคม  ออนไลน์

(เป็นรายวิชาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ผู้ประกอบการสังคม)

1.        ชื่อ นามสกุล 

              £ นาย / MR     £นางสาว / MISS        £นาง / MRS.           £อื่น ๆ/Other ………….............................................

              (ภาษาไทย-บรรจง)                       ………………………………………………………………………..........................

              (ภาษาอังกฤษ-พิมพ์ใหญ่)            .............................................................................................................................

2.      เกิดวันที่ ....... เดือน .....................................พ.ศ................... อายุ...........ปี  สัญชาติ........................ ศาสนา.......................

3.      เลขประจำตัวประชาชน £-££££-£££££-££-£

4.      ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ .................... หมู่ที่ ...... ซอย..........................................ถนน .................................... ......................

แขวง/ตำบล ..................................................... เขต/อำเภอ ................................ จังหวัด ......................................................

รหัสไปรษณีย์ ...........................

5.      โทรศัพท์................................... โทรสาร.................................โทรศัพท์มือถือ ......................................................................

E-Mail Address ………………………………………………………………....................................................................

6.      สถานที่ทำงานในปัจจุบัน เป็นสมาชิกกลุ่ม องค์กรชุมชน ดังนี้

£ กลุ่ม องค์กร เครือข่าย .........................................................................................................................................

ที่ทำการ ...........................................................................................................................................................................

โทรศัพท์ .........................................................โทรสาร ............................................e-mail ................................................

7.      เอกสารประกอบการรับสมัคร (ในกรณีที่ไม่พร้อม ให้ส่งตามมา)

£ ใบสมัคร พร้อมกรอกข้อความครบถ้วน และรูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ

£ สำเนาแสดงผลการศึกษา (Transcript) หรือสำเนาหลักฐาน(ม.ปลาย)หรือแสดงวุฒิการศึกษาชั้นสูงสุดที่เรียน

£ สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

£ สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้ามี)

£ สำเนาทะเบียนบ้าน

£ ใบรับรองจากองค์กร กลุ่ม เครือข่าย ที่ยืนยันแสดงความเป็นผู้นำหรืออาสาสมัครของชุมชน

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการสมัครข้างต้น เป็นเอกสารที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกประการ

                                                                      ลงชื่อผู้สมัคร ........................................................................

                                                                                      (..............................................................................)

                                                                                      วันที่ ........... เดือน ......................พ.ศ. ............................

คำอธิบายรายวิชาทั้ง 45 วิชา


คำอธิบายรายวิชา (เฉพาะที่คาดว่าจะเรียนจริง)



1)    การวิเคราะห์ชุมชนและทุนทางสังคม 

-       ASI ๑๐๑๐๓     ปัญหาชุมชนไทยกับการพัฒนา (Thai Social Problem and Development)

-       สภาพของชุมชนไทยในอดีตการเปลี่ยนแปลงของชุมชนไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ แนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน



-       SEP ๑๐๖๐๒ วัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม(Community Culture and Social Capital)

-       ขอบเขต ความหมาย ความสำคัญของวัฒนธรรมชุมชนและทุนทางสังคม โครงสร้างวัฒนธรรมชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะของทุนทางสังคม การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น



-       SEP ๑๐๖๐๕  กองทุนและสวัสดิการชุมชน        (Community Fund and Welfare)

-       ศึกษาความหมายของทุนชุมชน แนวคิด แนวปฏิบัติและรูปแบบของการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุนชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการโดยอาศัยทุนของชุมชน ซึ่งรวมถึงการจัดการทุนทรัพยากรทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของชุมชน ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงระบบการออม การผลิตและการบริโภค  



-       SEP ๒๐๖๐๖  เครือข่ายชุมชนและการจัดการ(Community Network and Management)

-       ศึกษาแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชน ความหมายและความสำคัญในการพัฒนาชุมชน รูปแบบต่าง ๆ ของการบริหารเครือข่ายชุมชน ศึกษากรณีตัวอย่างต่าง ๆ ของเครือข่ายองค์กรชุมชน รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมในความหมายที่กว้างออกไป       



-       SEP ๑๐๕๐๒ การจัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อการพัฒนา      (Community Mapping for Development)

-       ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถานที่ และสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและบริบทโดยรอบ
การใช้ข้อมูลทางแผนที่และข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (
Geography Information System) หลักการของการทำแผนที่ชุมชน แนวคิดและวิธีการการวิเคราะห์แผนที่เพื่อการพัฒนา การนำเสนอแผนที่ชุมชน



2)    การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน

-       SEP ๔๐๗๐๕       กระบวนทัศน์การพัฒนา (Development Paradigm)

-       ศึกษาความหมายของคำว่ากระบวนทัศน์ อันเป็นพื้นฐานการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ  ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงปัจจุบัน ทั้งในระดับโลกจนถึงระดับประเทศ โดยเฉพาะตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนที่ ๑  เป็นต้นมา ผลกระทบของการพัฒนาต่อวิถีของชุมชน และศึกษาทางเลือกกระบวนการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน



-       SEP ๒๐๖๐๗ การจัดทำแผนแม่บทชุมชน(Management on Community Strategic Planning)

-       การจัดทำและรวบรวมข้อมูลบัญชีครัวเรือน และบัญชีชุมชน การจัดทำแผนพัฒนาของประเทศไทย ผลกระทบของการพัฒนาปัญหาของชุมชน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาของชุมชน แนวความคิด การจัดแผนชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน ปัญหาของการจัดทำแผนชุมชน เทคนิควิทยากรกระบวนการในการจัดทำแผนชุมชน



-       SEP ๔๐๗๐๗ นโยบายสาธารณะ (Public Policy)

-       แนวความคิด และวิธีการในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การนำนโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบายสาธารณะ ศึกษาถึงทฤษฎี เทคนิคการวางแผน กระบวนการวางแผน การบริหารโครงการ การประเมินผลแผนและโครงการ โดยเน้นถึงนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล และการวางแผนเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย



-       SEP ๓๐๖๑๒ วิสาหกิจชุมชน     (Community Enterprise)

-       ศึกษาความหมายของวิสาหกิจชุมชน แนวคิดและรูปแบบการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน
พร้อมทั้งตัวอย่างคลัสเตอร์ (Clusters) วิสาหกิจชุมชน และการจัดการแบบผนึกพลัง (Synergy) เพื่อให้เห็นความเกี่ยวโยงไปถึงระบบเศรษฐกิจชุมชน กระบวนการเรียนรู้หรือการทำข้อมูลและแผนแม่บท ก่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งการสร้างนักวิสาหกิจชุมชน



-       SEP ๒๐๖๐๘ การจัดทำโครงการและการบริหารโครงการ(Project Initiative and Project Management)

-       ความหมายของโครงการ การสร้างสรรค์โครงการรูปแบบต่าง ๆ การเขียนโครงการ วิธีการจัดการโครงการ  การบริหารโครงการ การประเมินผลโครงการ รวมถึงแหล่งทุนในการสนับสนุนโครงการและแนวคิดในการสนับสนุนของแหล่งทุนประเภทต่าง ๆ



-       SEP ๓๐๗๐๑ ภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงาม     (Community Leadership and Team Building)               

-       การศึกษาภาวะผู้นำประเภทต่าง ๆ และเทคนิคการพัฒนาทีมงาน ความหมายและความสำคัญของการบริหารทีม แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาองค์การ  แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม วิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีม การวางแผนและการออกแบบทางเลือกในการพัฒนาทีมงานการสร้างทีมใหม่การกำจัดความไม่เป็นระเบียบและความขัดแย้งในทีมข้อตกลงและการเอาชนะข้อตกลงที่ไม่เป็นระเบียบและความขัดแย้งในทีมข้อตกลงและการเอาชนะข้อตกลงไม่สมบูรณ์ การสร้างความภาคภูมิใจในทีมงาน การฟื้นฟู ทีมงาน การลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ปัญหาในการสร้างทีมงานและแนวทางแก้ไข และลงมือปฏิบัติการเข้าถึงภาวะผู้นำชุมชนและการพัฒนาทีมงานของผู้เรียนผ่านการทำงานในชีวิตประจำวันของผู้เรียน และสรุปประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน



3)    การพัฒนาตนเอง

-       ASI ๑๐๒๐๑ มงคลชีวิต (Contemplative Practices)          

-       การฝึกปฏิบัติการ เพื่อสร้างพื้นฐานการพัฒนาชีวิตจากภายในจิตใจ ด้วยการฝึกฝนบ่มเพาะญาณทัศนะ โดยอาศัยกัลยาณมิตร และชุมชนที่สมานฉันท์ ผ่านกระบวนการแห่งการภาวนา ๔ คือศีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา อย่าสม่ำเสมอต่อเนื่อง

               

-       SEP ๔๐๗๐๒  จิตตปัญญาสิกขา (Comtemplative Education)

-       การศึกษาด้านในของตนเองเพื่อให้เกิดการรู้ตัว เข้าถึงความจริง ส่งผลต่อการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ เข้าถึงความสุขที่แท้จริง ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา เป็นต้น



-       ASI ๑๐๒๐๒ วิถีสุขภาวะแบบองค์รวม    (Holistic Well-Being Approach)       

-       การฝึกปฏิบัติการในวิถีชีวิตประจำวัน ด้วยความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพโดยการเอาใจใส่ดูแล  อิริยาบถพฤติกรรม มีสติในการกินอยู่ ที่เอื้อต่อสุขภาพอนามัย มีความรู้ถึงสาเหตุและลักษณะอาการของความเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง หรือแบบปัจจุบันทันด่วน รวมทั้งอุบัติภัยต่าง ๆ และรู้วิธีที่จะป้องกัน แก้ไข หรือลดความเสี่ยง พร้อมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้เป็นผู้ซึ่งดูแลตนเองในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดี

   

-       ASI ๑๐๑๐๒ พุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง  (Buddhist Economics and Sufficiency Economy)

-       ความสำคัญของพุทธเศรษฐศาสตร์  เปรียบเทียบพุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก  ความเข้าใจมนุษย์แบบพุทธ  การบริโภค  การผลิต  การกระจายผลผลิตภายใต้บริบทพุทธเศรษฐศาสตร์  บทบาทภาครัฐ กลไกการตลาด กลไกรัฐ และกลไกชุมชนและประชาสังคม  และ เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน



-       ASI ๑๐๒๐๓ ความรู้พื้นฐานทางปรัชญา (Fundamental Knowledge of Philosophy)

-       แนวความคิดพื้นฐานในปรัชญาแขนงเมตาฟิสิกส์ ทฤษฎีแห่งความรู้ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ทัศนคติของนักปรัชญาเอกของโลก โดยพิจารณาหลักการอธิบายความคิด เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพของมนุษย์ ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องเผชิญในการแสวงหาความจริง และหลักเกณฑ์เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเหตุผล

4)    ระบบสังคมและโลกาภิวัตน์

-       ASI ๑๐๓๐๑ ธรรมชาติศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษา (Nature-Study, Movement and Preservation)

-       ลักษณะวิชาจะบ่งบอกถึงสมดุลของโลกธรรมชาติ และสรรพสิ่งปัจจุบัน  การรู้จักรูปทรง โครงสร้างของธรรมชาติ การคงสภาพสืบเนื่อง การเปลี่ยนแปลง  บทบาทหน้าที่ของสรรพสิ่ง(ระบบนิเวศ) ที่เกื้อกูลสมดุลธรรมชาติ โดยศึกษาข้อมูลในอดีตเชิงสถิติและภาพรวม ผ่านการสัมผัสธรรมชาติจริง เรียนรู้โดยเน้นฝึกทักษะการสังเกต สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งใกล้และไกล ฝึกเปลี่ยนการมองตรงจากความจริงที่ช่วยสะท้อนถึงรูปแบบของความคิด การตรึกตรอง การไต่สวนเพื่อให้พูนเพิ่มความรู้ หรือกรอบปฏิบัติการที่ถูกต้องตรงทาง  ฝึกป้อนตัวรู้  การตั้งคำถาม และการหาคำตอบที่คมชัดในทุกแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากธรรมชาติ  ฝึกการเก็บข้อมูลโดยการวาดรูป บันทึกภาพ  ประมวลความรู้ และความรู้สึกที่เข้าถึงธรรมชาติ เพื่อการเข้าถึงกฎระเบียบ ระบบต่าง ๆ ที่มีในธรรมชาติ ที่ทรงอิทธิพลต่อมนุษย์ เกิดการอนุรักษ์และการเข้าถึงวิถีแห่งการธำรงรักษาที่ดีที่สุดคือ การรู้จริงโดยตนเอง



-       SEP ๑๐๕๐๑ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และวิกฤติโลก (Environmental Resources and Global Crisis)

-       พื้นฐานความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากเทคโนโลยี มลพิษต่าง ๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรมตลอดจนวิกฤติโลกด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์อันเป็นความเสี่ยงในปัจจุบัน มาตรการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม การรักษาและการดูแลคืนสภาพให้กับสิ่งแวดล้อม



-       SEP ๑๐๖๐๑ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองไทย   (Thai Society Economy and Politic)

-       ลักษณะทั่วไปของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองของไทย ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองและสิ่งแวดล้อม โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ภายในโครงสร้างเหล่านั้นและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัญหาและการแก้ไขปัญหา รวมถึงโครงสร้างการบริหารของ รัฐบาลกลาง และองค์กรปกครองประเภทต่าง ๆ เช่นเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และส่วนตำบล เป็นต้น ตลอดจนองค์กรภาคประชาชน/ประชาสังคม



-       SEP ๑๐๖๐๔ เศรษฐกิจชุมชน  (Communtiy Economy)

-       ศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคเชิงวิพากษ์ ในเรื่องปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภค ลักษณะสำคัญของตลาดสินค้าที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ความล้มเหลวของกลไกตลาด การเข้าแทรกแซงจากกลไกรัฐผ่านนโยบายรัฐ ทั้งในระดับชุมชนและเชื่อมโยงสู่สังคมภายนอก ตลอดจนการทำงานของกลไกชุมชนและภาคประชาสังคมภายใต้แนวคิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอันเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ผ่านตลาด



-       SEP ๔๐๗๐๖ สังคมชนบทและสังคมเมือง (Rural and Urban Sociology)

-       ความหมายของสังคมชนบทและเมือง ความหมายของชุมชนแบบชนบทและเมือง ลักษณะของชนบทและเมืองด้านนิเวศวิทยา ประชากร การอาชีพ และเศรษฐกิจ สถาบันทางสังคม กลุ่ม องค์กรทางสังคม ลักษณะค่านิยม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมชนบทและเมือง ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของสังคมชนบทและเมือง การวางผังเมือง



5)    สถาบันและการปกครองท้องถิ่น

-       ASI ๑๐๑๐๔   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Introduction to General Law)

-       ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักกฎหมายเบื้องต้น ได้แก่ ที่มา ประเภท ความสำคัญ การจัดทำ การใช้ การยกเลิก การตีความและกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ศึกษากฎหมายแพ่งพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอาญา เฉพาะส่วนที่เป็นความรู้เบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ รวมทั้งจรรยาบรรณของผู้ใช้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ



-       SEP ๔๐๗๐๙ หลักการปกครองท้องถิ่น  (Principle of Local Government)

-       ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น หลักการ รูปแบบการปกครองท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหน่วยการปกครองท้องถิ่น ปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่มีผลกระทบต่อการปกครองท้องถิ่น ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นในอนาคต



-       SEP ๓๐๖๑๓  รัฐธรรมนูญ สถาบันการเมือง กฎหมาย และกติกาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน (Constitution, Political Institution, Community Rule and Law)  

-       ประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ องค์การของรัฐ และสถาบันการเมืองประเภทต่าง ๆ
สิทธิเสรีภาพของบุคคล ทฤษฎีที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งปรัชญาและแนวความคิดในระบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง กฎหมายท้องถิ่น และกติกาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน



-       SEP ๔๐๗๑๐ กระบวนการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Participation Development)

-       ศึกษาหลักการ วิธีการ กระบวนการพัฒนาบุคคล และกลุ่ม อุดมการณ์ คุณธรรมสำหรับนักพัฒนา วิธีการให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชน กระบวนการและเทคนิคของการรวมกลุ่มการพัฒนากลุ่ม การปฏิบัติงานเป็นกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชน



6)    การจัดกระบวนการเรียนรู้ 

-       SEP ๒๐๕๐๔ วิทยากรกระบวนการ  (Process Facilitator)

-       ทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้น  กระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่  การถ่ายทอดความคิดเป็นภาษาองค์ประกอบของวิทยากรกระบวนการ เทคนิคการจัดกระบวนการเพื่อการเรียนรู้  เทคนิคการตั้งคำถาม การฟัง การสรุป การจับประเด็น  การบันทึกการประชุมแบบแผนที่ความคิด การสร้างพลังให้กับเวทีประชุม



-       SEP ๓๐๖๐๙ การจัดกระบวนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง   (Learning Process Management for Change)

-       ศึกษาความหมาย ขั้นตอนของการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การสร้างรูปแบบกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมกับชุมชน การใช้เครื่องมือการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่



-       SEP ๒๐๕๐๓ การผลิตสื่อชุมชน (Community Media Creation)

-       ความเข้าใจพลังและอิทธิพลของสื่อ ที่มีต่อการกำหนดหรือชี้นำการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจ
ของคน ผ่านรูปธรรมการนำเสนอ เช่น ข่าว สารคดี โฆษณา ฯลฯ เพื่อให้รู้เท่าทันอำนาจและสิ่งที่แฝงเร้นอยู่ในสื่อ เรียนรู้และจัดทำรูปแบบสื่อประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมในชุมชน ทั้งที่เป็นสื่อเสียง สื่อเสียงและภาพสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และ
Social Media



-       SEP ๒๐๕๐๕ ข้อมูลทางสถิติและสารสนเทศชุมชน (Statistical Data and Information of Community)

-       ความหมายและความสำคัญของข้อมูลสถิติและสารสนเทศ การรวบรวมข้อมูลและเข้าถึงแหล่งสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ของชุมชน พร้อมด้วยการจัดระบบข้อมูล วิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูลสถิติและสารสนเทศชุมชน เพื่อการตัดสินใจ



-       SEP ๔๐๗๑๓ การจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (Conflict Management with Peace Study)

-       ศึกษาความหมาย ขั้นตอนของการบริหารความขัดแย้ง วิเคราะห์กระบวนการบริหารความขัดแย้งแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กรณีตัวอย่างความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีในชุมชนของนักศึกษา วิธีการจัดการกับความขัดแย้งเพื่อนำมาใช้ในการจัดการชุมชนที่เหมาะสม



7)    ความรู้และทักษะการสื่อสารทางสังคม  

-        ASI ๑๐๔๐๔ทักษะการฟัง การอ่านเอาเรื่อง การพูด และการเขียนภาษาไทย (Listening, Conceptually Reading, Speaking and Writing Skill in Thai Language)

-        หลักและฝึกทักษะการฟัง การอ่าน การคิด การเขียนและการพูด ด้านการฟังและการอ่านจะเป็นการจับใจความสำคัญและการแสดงความคิดเห็น สำหรับการอ่านจะเน้นการอ่านออกเสียงด้วยด้านการเขียนจะเน้นการใช้ภาษา การเขียนย่อหน้า สำนวนโวหาร ภาพพจน์ ตลอดจนการเก็บและบันทึกข้อมูล ด้านการพูดจะเน้นการสนทนา การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การประชุม ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ทักษะดังกล่าวถ่ายทอดความรู้ ความคิดอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล



-        ASI ๑๐๓๐๓ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Introduction to Computer, Information and Technology)

-        หลักการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อจัดเตรียมเอกสารและการนำเสนองานต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศออนไลน์ และการจัดทำฐานข้อมูลในระดับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพ



-        ASI ๑๐๔๐๕   ทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพ   (Communitatiion Skills for Leader in Professional Career)

-        ฝึกทักษะการสื่อสารสำหรับผู้นำในวิชาชีพต่างๆ  ด้วยการพูด การเขียน การอ่าน และการฟัง การอ่านเชิงวิจารณ์ การวิเคราะห์  ทักษะด้านการพูดเพื่อนำเสนอข้อมูล และการพูดในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเน้นทักษะการเขียนเชิงนิเทศ การเขียนรายงานทางวิชาการ และการเขียนโครงการต่าง ๆ ในด้านการสื่อสารและการทำงาน



-        ASI ๑๐๔๐๑ การใช้ภาษาอังกฤษ ๑   (English Usage 1)      

-        ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในลักษณะที่ผสมผสานกันทั้ง ๔ ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ของภาษาเป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการอ่าน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาทางด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง



     ASI ๑๐๔๐๒ การใช้ภาษาอังกฤษ ๒      (English Usage 2)

-        ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพิ่มเติม ในลักษณะเชื่อมโยง ประสานกันทั้ง ๔ ทักษะ โดยอาศัยการศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์เป็นรากฐาน และเน้นหนักไปในด้านการเขียน เพื่อช่วยให้สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องในด้านการสื่อสารในชีวิตประจำวันและในการศึกษาภาษาอังกฤษชั้นสูง





8)    ความรู้และทักษะการประกอบการทางสังคม

-       SEP ๓๐๖๑๐ แนวคิดผู้ประกอบการสังคม  (Social Enterpreneur Concept)

-       ศึกษาที่มา แนวคิดและความหมายของผู้ประกอบการสังคม ความแตกต่างจากผู้ประกอบการทั่วไป และ ศึกษากรณีตัวอย่างต่าง ๆ ของผู้ประกอบการสังคมในต่างประเทศและประเทศไทย



-       SEP ๓๐๖๑๑ การพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสังคม (Entrepreneurial Skill Development)

-       คุณลักษณะและทักษะของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของผู้ประกอบการ
การแสวงหาโอกาสใหม่ของธุรกิจ แผนธุรกิจ แผนการตลาด แนวคิดในการเลือกธุรกิจและรูปแบบของการลงทุน การจัดการธุรกิจที่เริ่มดำเนินการเพื่อกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืน



-       SEP ๓๐๖๑๔ สหกรณ์กับการพัฒนาชุมชน  (Cooperative and Community Development)

-       ศึกษาที่มา หลักการและ กระบวนการของสหกรณ์ที่มีผลต่อทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และสุขภาวะของชุมชน รูปแบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ในต่างประเทศ และประเทศไทย กฎหมายและข้อจำกัดของสหกรณ์ในไทย และกรณีศึกษาสหกรณ์ต่างประเทศและในประเทศที่ประสบความสำเร็จ

       

-       SEP ๔๐๗๑๗ สัมมนาประเด็นผู้ประกอบการสังคม (Seminar on Social Entrepreneur)

-       การศึกษาด้วยตนเองในประเด็นผู้ประกอบการสังคมที่ผู้เรียนสนใจและนำเสนอผลการเรียนรู้



-       SEP ๔๐๖๑๕ กรณีศึกษาการเป็นผู้ประกอบการสังคมในชุมชนท้องถิ่น (Case Study on Social Entrepreneur in Community)

-       ศึกษาด้วยตนเองผ่านการเป็นผู้ประกอบการสังคม ด้วยริเริ่ม จัดทำแผนงาน ลงมือพัฒนากิจการเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นในชุมชน และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้น จัดทำเป็นกรณีศึกษา



-       SEP ๑๐๖๐๓  นวัตกรรมการประกอบการสังคม (Community Development Innovation)

-       ศึกษาความหมายของคำว่านวตกรรมอันเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบการสังคม ทั้งในเชิงทฤษฎีและตัวอย่างนวตกรรมที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จที่กิดขึ้นในชุมชนจากการทำงาน



-       SEP ๔๐๗๑๕ หลักบัญชีเบื้องต้น (Basic Accounting)

-       หลักการบัญชี กระบวนการบันทึกบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ การปรับปรุงรายการบัญชีการปิดบัญชี และการจัดทำงบการเงินของกิจการขายสินค้า กิจการผลิต สินค้า และกิจการให้บริการ รวมถึงการจัดทำสมุดรายวันเฉพาะ บัญชีคุมยอด และบัญชีย่อย



9)    การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง (ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ประกอบการ)

-       SEP ๒๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๑ (Learning Through Work 1)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์  สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์



-       SEP ๓๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๒ (Learning Through Work 2)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์  สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์



-       SEP ๔๐๘๐๑ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ๓ (Learning Through Work 3)

-       การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง ในการเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือการเป็นผู้นำชุมชน ด้วยการริเริ่มทำโครงการในชุมชน หรือในหน่วยงานและองค์กรของรัฐหรือเอกชน ที่เกี่ยวกับการพัฒนา หรือเรียนรู้ผ่านการทำหน้าที่การเป็นผู้นำที่มีอยู่เดิม ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง ในแต่ละปีการศึกษา โดยวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ทางการพัฒนามาใช้กับสถานการณ์จริงพร้อมทั้งเขียนรายงานการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทำงานจริง พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์